จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ประวัติการปกครองของไทย



ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงสุโขทัย



 การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย [1781 - 1921] แบ่งออกเป็นสามยุค
     ยุดแรก ปกครองแบบพ่อปกครองลูก
   คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พ่อขุน” นำหน้า
ลักษณะเด่น
-         มีพลเมืองน้อยปกครองง่าย
-         มีความใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์

     ยุดกลาง ปกครองแบบจักรพรรดิ
   คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์มีคำว่า พญา” นำหน้า
ลักษณะเด่น
-         มีประชากรเพิ่มมากขึ้น
-         ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น

     ยุคปลาย ปกครองแบบธรรมราชา
   คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์มีคำว่า พระมหาธรรมราชาที่นำหน้า
ลักษณะเด่น
-         นำเอาหลักธรรมของศาสนาพุทธในเรื่องการเป็นผู้นำผู้ปกครองมาใช้ควบคุมพฤติกรรมพระมหากษัตริย์คือ ทศพิธราชธรรม

การจัดระเบียบการปกครองสมัยสุโขทัย 
    1. เมืองหลวง คือ สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง 
    2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองหลวง มี 4 ทิศ โดยมีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ สะสมเสบียงอาหารและป้องกันข้าศึกศัตรู เมืองหน้าด่านทั้ง 4 ได้แก่ 
       - ทิศเหนือ คือ ศรีสัชนาลัย 
       - ทิศใต้ คือ สระหลวง (พิจิตร) 
       - ทิศตะวันออก คือ สองแคว (พิษณุโลก) 
       - ทิศตะวันตก คือ ชากังราว (กำแพงเพชร) 
    3. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอก มีเจ้าเมืองหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง 
    4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยยอมสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการให้ และมีเจ้าเมืองเดิมปกครอง

·      ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา


ลักษณะการปกครองแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
-        แบบธรรมราชา
กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา
-        แบบเทวราชา
กษัตริย์เป็นสมมติเทพรับอิทธิพลมาจากขอม
        การจัดระเบียบการปกครอง
                สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองสมัยสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้โดยแบ่งเป็น
-        ราชธานี
-        หัวเมืองชั้นใน
-        เมืองลูกหลวง
-        หัวเมืองชั้นนอก
-        เมืองประเทศราช
ต่อมาพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศุนย์กลางแบ่งเป็น
-        ราชธานี
-        หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
-        หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็น
เอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่นคือ เมือง(จังหวัด) , แขวง (อำเภอ) ตำบล บ้าน

การปกครองราชธานี
แบ่งเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์” ได้แก่
-        กรมเมือง   ดูแลความเรียบร้อยในราชธานี
-        กรมวัง       ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่างๆในราชสำนักและพระราชพิธีต่างๆ
-        กรมคลัง    ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
-        กรมนา      ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง
การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปใหม่
-        กรมเมือง   เปลี่ยนเป็น   นครบาล
-        กรมวัง      เปลี่ยนเป็น   ธรรมาธิกรณ์
-        กรมคลัง    เปลี่ยนเป็น   โกษาธิบดี
-        กรมนา      เปลี่ยนเป็น   เกษตราธิบดี




·      ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองในสมัยนี้ยึดถือแบบของกรุงศรีอยุธยาแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง
     กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลางมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง เจ้าพระยา” จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
1.    สมุหนายก
เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน มียศเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ หรือที่เรียกว่า ออกญาจักรี
2.    สมุหพระกลาโหม
เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด มียศเป็น เจ้าพระยามหาเสนา หรือที่เรียกว่า ออกญากลาโหม

ส่วนจตุสดมภ์ยังมีไว้คงเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง พระยา” จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
1.    กรมเวียงหรือนครบาล
มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยในพระนคร
2.    กรมวังหรือธรรมาธิกรณ์
มีพระยาธรรมธิกรณ์ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
3.    กรมคลังหรือโกษาธิบดี
มีพระยาโกษาธิบดีทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออก
4.    กรมนาหรือเกษตราธิการ
มีพระยาพลเทพทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรมหรือการประกอบอาชีพของประชาชน





·         ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
รูปแบบของการปกครองทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลัง นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น 

สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ 

 ๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก 

 ๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย