จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย


รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
  • หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
  • หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
  • หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา


ประชุมรัฐสภาไทย ณ การพระที่นั่งอนันตสมาคมสมัย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี



ห้องประชุมรัฐสภาไทย


เรื่องเสริม

รัฐสภาไทยแห่งใหม่ สัปปายะสภาสถาน



วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์พรรคการเมือง

รวบรวมชื่อย่อของพรรคการเมืองทุกพรรคพร้อมตราสัญญลักษณ์ประจำพรรคของแต่ ละพรรค ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยในปี2554 ครั้งที่ 1

สัญญลักษณ์ชื่อพรรคการเมืองชื่อย่อหมายเลข
พรรค เพื่อไทยพท.1.
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินชพน. หรือ CPN.2
พรรค ประชาธิปไตยใหม่ปธม. หรือ NDCP.3
พรรค ประชากรไทยปชท. หรือ TCP.4
พรรค รักประเทศไทยรปท. หรือ R.TL.P5
พรรค พลังชลพช. หรือ PC6
พรรค ประชาธรรมพปธ. หรือ PCT.7
พรรค ดำรงไทยดธ. หรือ DR.P8
พรรค พลังมวลชนพลช. หรือ MPP.9
พรรค ประชาธิปัตย์ปชป. หรือ DP.10
พรรค ไทยพอเพียงทพ. หรือ TPPP.11
พรรค รักษ์สันติรส. หรือ RSP.12
พรรค ไทยเป็นสุขทปส. หรือ TPS.13
พรรค กิจสังคมกส. หรือ SAP.14
พรรค ไทยเป็นไทยทปท. หรือ T.I.P.15
พรรค ภูมิใจไทยภท. หรือ BJT16
พรรค แทนคุณแผ่นดินทคผ. หรือ TKP.17
พรรค เพื่อฟ้าดินพฟด. หรือ FHAE.18
พรรค เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทยพนท. หรือ FNTP.19
พรรค การเมืองใหม่ก.ม.ม. หรือ NPP.20
พรรค ชาติไทยพัฒนาชทพ. หรือ CP.21
พรรค เสรีนิยมส.ร.น. หรือ L.P.22
พรรค ชาติสามัคคีช.ส.ม. หรือ C.S.P.23
พรรค บำรุงเมืองบม. หรือ B.M.P.24
พรรค กสิกรไทยกท. หรือ KT.25
พรรค มาตุภูมิมภ. หรือ MB.26
พรรค ชีวิตที่ดีกว่าพชก. หรือ BLP.27
พรรค พลังสังคมไทยพสท. หรือ RSTP.28
พรรค เพื่อประชาชนไทยพ.ป.ท. หรือ R.T.P.29
พรรค มหาชนพมช. หรืิอ MCP.30
พรรค ประชาชนชาวไทยปชชท. หรือ RCCTP.31
พรรค รักแผ่นดินรผด. หรือ RPD.32
พรรค ประชาสันติปส. หรือ CPP.33
พรรค ความหวังใหม่ควม. หรือ N

พรรคการเมือง

หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
** นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1

หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ จำนวนผู้สมัคร 6 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์

หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย จำนวนผู้สมัคร 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช

หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย จำนวนผู้สมัคร 11 คน
หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

หมายเลข 6 พรรคพลังชล จำนวนผู้สมัคร 18 คน
หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์

หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม จำนวนผู้สมัคร 25 คน
หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ

หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย จำนวนผู้สมัคร 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู

หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน จำนวนผู้สมัคร 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ

หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง จำนวนผู้สมัคร 3 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร

หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ จำนวนผู้สมัคร 64 คน
หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์

หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา

หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร

หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย จำนวนผู้สมัคร 10 คน
หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา

หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 32 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร

หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน จำนวนผู้สมัคร 1 คน
หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ

หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย จำนวนผู้สมัคร 30 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง

หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ จำนวนผู้สมัคร 24 คน
หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์ โกศัยสุข

หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา

หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม จำนวนผู้สมัคร 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม

หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี จำนวนผู้สมัคร 9 คน
หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช

หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง จำนวนผู้สมัคร 14 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย

หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย จำนวนผู้สมัคร 2 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำลอง ดำสิม

หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ จำนวนผู้สมัคร 40 คน
หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า จำนวนผู้สมัคร 4 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ

หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์

หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย จำนวนผู้สมัคร 4 คน
หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์

หมายเลข 30 พรรคมหาชน จำนวนผู้สมัคร 6 คน
หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน

หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค

หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 1 คน
หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร

หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ จำนวนผู้สมัคร 34 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายดลสวัสด์ ชาติเมธี

หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่ จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม

หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ จำนวนผู้สมัคร 3 คน
หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร

หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา จำนวนผู้สมัคร 103 คน
หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย

หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายสวัสดิ์ พบวันดี

หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์ จำนวนผู้สมัคร 4 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์

หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย จำนวนผู้สมัคร 23 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ

หมายเลข 40 พรรคมหารัฐพัฒนา จำนวนผู้สมัคร 2 คน
หัวหน้าพรรค : นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์

                                                  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


                                                    นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์


                                                   นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์


                                              นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล