จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Asean


สัญลักษ์อาเซียน

กำเนิดอาเซียน 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้



วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ



การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่ 1 23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 2 4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3 14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์ มะนิลา
ครั้งที่ 4 27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 5 14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6 15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม ฮานอย
ครั้งที่ 7 5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8 4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา พนมเปญ
ครั้งที่ 9 7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 10 29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11 12-14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12 11-14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์ เซบู
ครั้งที่ 13 18-22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 14 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย ชะอำ, หัวหิน พัทยา
ครั้งที่ 15 23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่16 8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม ฮานอย

ประเทศสมาชิกอาเซียน




หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน

การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้



โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว 



กฏบัตรอาเซียน
เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัฐสภาไทย


รัฐสภาไทย


รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
  • หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
  • หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
  • หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา


ประชุมรัฐสภาไทย ณ การพระที่นั่งอนันตสมาคมสมัย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี



ห้องประชุมรัฐสภาไทย


เรื่องเสริม

รัฐสภาไทยแห่งใหม่ สัปปายะสภาสถาน



วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์พรรคการเมือง

รวบรวมชื่อย่อของพรรคการเมืองทุกพรรคพร้อมตราสัญญลักษณ์ประจำพรรคของแต่ ละพรรค ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยในปี2554 ครั้งที่ 1

สัญญลักษณ์ชื่อพรรคการเมืองชื่อย่อหมายเลข
พรรค เพื่อไทยพท.1.
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินชพน. หรือ CPN.2
พรรค ประชาธิปไตยใหม่ปธม. หรือ NDCP.3
พรรค ประชากรไทยปชท. หรือ TCP.4
พรรค รักประเทศไทยรปท. หรือ R.TL.P5
พรรค พลังชลพช. หรือ PC6
พรรค ประชาธรรมพปธ. หรือ PCT.7
พรรค ดำรงไทยดธ. หรือ DR.P8
พรรค พลังมวลชนพลช. หรือ MPP.9
พรรค ประชาธิปัตย์ปชป. หรือ DP.10
พรรค ไทยพอเพียงทพ. หรือ TPPP.11
พรรค รักษ์สันติรส. หรือ RSP.12
พรรค ไทยเป็นสุขทปส. หรือ TPS.13
พรรค กิจสังคมกส. หรือ SAP.14
พรรค ไทยเป็นไทยทปท. หรือ T.I.P.15
พรรค ภูมิใจไทยภท. หรือ BJT16
พรรค แทนคุณแผ่นดินทคผ. หรือ TKP.17
พรรค เพื่อฟ้าดินพฟด. หรือ FHAE.18
พรรค เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทยพนท. หรือ FNTP.19
พรรค การเมืองใหม่ก.ม.ม. หรือ NPP.20
พรรค ชาติไทยพัฒนาชทพ. หรือ CP.21
พรรค เสรีนิยมส.ร.น. หรือ L.P.22
พรรค ชาติสามัคคีช.ส.ม. หรือ C.S.P.23
พรรค บำรุงเมืองบม. หรือ B.M.P.24
พรรค กสิกรไทยกท. หรือ KT.25
พรรค มาตุภูมิมภ. หรือ MB.26
พรรค ชีวิตที่ดีกว่าพชก. หรือ BLP.27
พรรค พลังสังคมไทยพสท. หรือ RSTP.28
พรรค เพื่อประชาชนไทยพ.ป.ท. หรือ R.T.P.29
พรรค มหาชนพมช. หรืิอ MCP.30
พรรค ประชาชนชาวไทยปชชท. หรือ RCCTP.31
พรรค รักแผ่นดินรผด. หรือ RPD.32
พรรค ประชาสันติปส. หรือ CPP.33
พรรค ความหวังใหม่ควม. หรือ N

พรรคการเมือง

หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
** นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1

หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล

หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ จำนวนผู้สมัคร 6 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุรทิน พิจารณ์

หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย จำนวนผู้สมัคร 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุมิตร สุนทรเวช

หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย จำนวนผู้สมัคร 11 คน
หัวหน้าพรรค : นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

หมายเลข 6 พรรคพลังชล จำนวนผู้สมัคร 18 คน
หัวหน้าพรรค : นายเชาวน์ มณีวงษ์

หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม จำนวนผู้สมัคร 25 คน
หัวหน้าพรรค : นายมุคตาร์ กีละ

หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย จำนวนผู้สมัคร 13 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู

หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน จำนวนผู้สมัคร 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายกรภพ ครองจักรภพ

หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง จำนวนผู้สมัคร 3 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำรัส อินทุมาร

หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ จำนวนผู้สมัคร 64 คน
หัวหน้าพรรค : พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์

หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายประดิษฐ์ ศรีประชา

หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายทองพูล ดีไพร

หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไทย จำนวนผู้สมัคร 10 คน
หัวหน้าพรรค : นายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา

หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 32 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิชัย ศิรินคร

หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน จำนวนผู้สมัคร 1 คน
หัวหน้าพรรค : นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ

หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย จำนวนผู้สมัคร 30 คน
หัวหน้าพรรค : นายโชติ บุญจริง

หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ จำนวนผู้สมัคร 24 คน
หัวหน้าพรรค : นายสมศักดิ์ โกศัยสุข

หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชุมพล ศิลปอาชา

หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม จำนวนผู้สมัคร 8 คน
หัวหน้าพรรค : นายพุทธชาติ ช่วยราม

หมายเลข 23 พรรคชาติสามัคคี จำนวนผู้สมัคร 9 คน
หัวหน้าพรรค : นายนพดล ไชยฤทธิเดช

หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง จำนวนผู้สมัคร 14 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุวรรณ ประมูลชัย

หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย จำนวนผู้สมัคร 2 คน
หัวหน้าพรรค : นายจำลอง ดำสิม

หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ จำนวนผู้สมัคร 40 คน
หัวหน้าพรรค : พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า จำนวนผู้สมัคร 4 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ

หมายเลข 28 พรรคพลังสังคมไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายวิวัฒน์ เลอยุกต์

หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย จำนวนผู้สมัคร 4 คน
หัวหน้าพรรค : นายดิเรก กลิ่นจันทร์

หมายเลข 30 พรรคมหาชน จำนวนผู้สมัคร 6 คน
หัวหน้าพรรค : นายอภิรัต ศิรินาวิน

หมายเลข 31 พรรคประชาชนชาวไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายสุนทร ศรีบุญนาค

หมายเลข 32 พรรครักแผ่นดิน จำนวนผู้สมัคร 1 คน
หัวหน้าพรรค : นายประทีป ประภัสสร

หมายเลข 33 พรรคประชาสันติ จำนวนผู้สมัคร 34 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายดลสวัสด์ ชาติเมธี

หมายเลข 34 พรรคความหวังใหม่ จำนวนผู้สมัคร 125 คน
หัวหน้าพรรค : นายชิงชัย มงคลธรรม

หมายเลข 35 พรรคอาสามาตุภูมิ จำนวนผู้สมัคร 3 คน
หัวหน้าพรรค : นายมนตรี เศรษฐบุตร

หมายเลข 36 พรรคพลังคนกีฬา จำนวนผู้สมัคร 103 คน
หัวหน้าพรรค : นายวนัสธนา สัจจกุล หรือ บิ๊กหอย

หมายเลข 37 พรรคพลังชาวนาไทย จำนวนผู้สมัคร 5 คน
หัวหน้าพรรค : นายสวัสดิ์ พบวันดี

หมายเลข 38 พรรคไทยสร้างสรรค์ จำนวนผู้สมัคร 4 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายวิษณุภตฆ์ พีรเจริญวงส์

หมายเลข 39 พรรคเพื่อนเกษตรไทย จำนวนผู้สมัคร 23 คน
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นายทรงเดช สุขขำ

หมายเลข 40 พรรคมหารัฐพัฒนา จำนวนผู้สมัคร 2 คน
หัวหน้าพรรค : นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์

                                                  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


                                                    นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์


                                                   นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์


                                              นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล